ข่าวใหม่อัพเดท » ตั้งคณะทำงานถอดบทเรียนบ้านปลาฝา ผลักดันให้เป็นโมเด็ล แก้ปัญหายาเสพติดโดยชุมชน คงวิถีดั้งเดิม

ตั้งคณะทำงานถอดบทเรียนบ้านปลาฝา ผลักดันให้เป็นโมเด็ล แก้ปัญหายาเสพติดโดยชุมชน คงวิถีดั้งเดิม

9 สิงหาคม 2020
0

ตั้งคณะทำงานถอดบทเรียนบ้านปลาฝา ผลักดันให้เป็นโมเด็ล แก้ปัญหายาเสพติดโดยชุมชน คงวิถีดั้งเดิม มท.1 อยากเห็นความเข้มแข็งของชาวบ้านลุกขึ้นมาทำ

ที่ห้องประชุมนครบาล โรงแรมโฆษิตฮิลล์ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายนิพนธ์ ชื่นตาม ประจำสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฎิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานประชุมคณะทำงานในกรณีศึกษาถอดบทเรียนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้บ้านปลาฝา หมู่ที่ 5 ตำบลหินฮาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยให้แนวคิดว่า พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทีอยากเห็นการแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่มีผลกระทบต่อสังคมโดยเฉพาะเด็กเยาวชน ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีวิธีการดำเนินการมากมาย แต่ก็ยังไม่เด่นชัด

และจากลงพื้นที่ของนายนิพนธ์ ชื่นตา พบว่าที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านปลาฝา ทีวิธีการที่น่าจะเป็นโมเด็ล และเป็นนโยบายที่กระทรวงมหาดไทย และรัฐบาลนำไปเป็นกรอบการในการดำเนินการ จึงได้ตั้งคณะทำงานถอดบทเรียนขึ้น จำนวน 6 คน คือ ร้อยตำรวจตรีสุขสัณห์ ภิชัย นายกสมาคมเครือข่ายนักสื่อสารชุมชน เป็นประธานคณะทำงาน, มี รศ.ดร.กมล เข็มนาจิตร์ เป็นรองประธาน, ผศ.ดร.สุริยา ประดิษฐ์สถาพร จากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประจำวิทยาเขตเพชรบูรณ์, นายวิริทธิ์พล หิรัญรัตน์ นายกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์จังหวัดเพชรบูรณ์, นายชัชพงษ์ เสาธง ทนายความ เป็นคณะทำงาน, และมี น.ส.วิไลวรรณ หาญกลิ้ง เป็นเลขาคณะทำงาน เพื่อถอดบทเรียนในการทำงานอย่างต่อเนื่อง 11 ปี จนประสบความสำเร็จ และจะผลักดันให้รัฐบาลนำไปเป็นนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดของชาติต่อไป

จากกรณีศึกษาในเบื้องต้น ได้พบรูปธรรมจากการดำเนินการของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนบ้านปลาฝา โดยเฉพาะงานด้านสังคมทั้งในระดับพื้นที่ ศูนย์แห่งนี้ มีประเด็นหนึ่งที่มีจุดเด่นคือ เกิดจากแรงดลใจของคนในพื้นที่หมู่บ้าน ที่เสียสละ ทุ่มเท และและการมีส่วนร่วมลุ่มคน 3 วัย ในหมู่บ้าน คือ เด็กเยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุ ปู่ย่าตาทวด ไม่ต้องรอว่าส่วนราชการหน่วยงานของภาครัฐหรือเอกชน จะเข้ามาสนับสนุนหรือไม่อย่างไร โดยมีอาจารย์บุญช่วย ทองเถาว์ เป็นแกนหลักในศูนย์แห่งนี้ จึงคิดว่าจะสามารถนำไปเป็นโมเด็ล และจะถอดบทเรียนเพื่อนำไปศึกษา พร้อมทั้งผลิตสารคดีของศูนย์แห่งนี้ ที่ได้ขับเคลื่อนมา ซึ่งหากจะมีพื้นที่อื่นๆสนใจ ก็ไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปศึกษาดูงาน เพียงแต่ศึกษาจากบทเรียนและดูสารคดี อันจะเป็นภาระของศูนย์ในการคอยต้อนรับ หรือเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะเป็นกรอบคิดในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งขณะนี้ผู้สนใจพอทราบข่าวก็ลงพื้นที่ไปศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง


วิไลวรรณ หาญกลิ้ง/มนสิชา คล้ายแก้ว

error: Content is protected !!