ข่าวใหม่อัพเดท » กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม (Welding Skill Development Academy: WelDA) เพื่อยกระดับ และพัฒนาช่างเชื่อมสู่มาตราฐานสากล

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม (Welding Skill Development Academy: WelDA) เพื่อยกระดับ และพัฒนาช่างเชื่อมสู่มาตราฐานสากล

27 เมษายน 2024
0

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม (Welding Skill Development Academy: WelDA) เพื่อยกระดับ และพัฒนาช่างเชื่อมสู่มาตราฐานสากล

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 : นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม (Welding Skill Development Academy: WelDA) โดยมีนายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน, นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมในพิธีเปิด ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 สมุทรปราการ โดยนายชาติวุฒิ ทองกัน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 สมุทร ปราการ, นายสุชิน ทวีทรัพย์ล้ำเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ให้การต้อนรับ และพาเยี่ยมชมพันธมิตรของสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม ที่ได้มาร่วม เปิดบูช เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการเชื่อมในปัจจุบัน และชมกิจกรรมการเชื่อมของสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม ซึ่งได้รับความสนใจจากประธานในพิธีอย่างมาก   เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และบริการ โดยเฉพาะช่างเชื่อมโลหะ ซึ่งเป็นแรงงานทักษะฝีมือชั้นสูง ที่เกี่ยว ข้องกับอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เช่น การก่อสร้างระบบราง ท่าเรือน้ำลึก อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ช่างเชื่อมต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีทักษะมาตรฐานสากล รองรับการขยายตัวของเขตเศรษฐกิจพิเศษ เขต EEC อุตสาหกรรมหลัก เรือเดินทะเล และงานตรวจซ่อมรื้อถอนใต้น้ำ เป็นต้น จึงเป็นสาขาอาชีพที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แรงงานต้องรับการพัฒนายกระดับทักษะเพื่อให้สามารถปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีด้านงานเชื่อมสมัยใหม่ มีมาตรฐานสากล รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงของทักษะฝีมือแรงงานในอนาคต กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จึงได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม (Welding Skill Development Academy) หรือ WelDA เพื่อขับเคลื่อนการทำงานตามนโยบายรัฐบาล ยกระดับศักยภาพแรงงานไทย ทั้งการ Up-skill Re-skill ฝีมือแรงงาน ให้ได้มาตรฐาน รองรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ตามนโยบายค่าแรงของรัฐบาล และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ  

นายสุชิน ทวีทรัพย์ล้ำเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงหลักสูตร และภาระกิจสำหรับการอบรมช่างเชื่อม ประกอบด้วย  

  • ภารกิจที่ 1. สำหรับช่างเชื่อมสากล สาขาช่างเชื่อมไฟฟ้าโลหะด้วยมือ Manual Metal Arc Welding (MMAW) ช่างเชื่อมทิก Tungsteninert Gas (TIG) ช่างเชื่อมแม็ก Metal Active Gas  
  • ภารกิจที่ 2. เป็นการฝึกอบรมเฉพราะทาง ด้านงานเชื่อม ตามความต้องการของสถานผู้ประกอบการ ซึ่งสถานผู้ประกอบการสามารถเลือกกระบวนการเชื่อม ชนิดรอยต่อ ประเภทของวัสดุ รวมถึงลักษณะท่าทางที่จะใช้ในการฝึกตามความเหมาะสมของงาน และกิจกรรมของผู้ประกอบการเอง
  • ภารกิจที่ 3. สอบรับรองฝีมือช่างเชื่อม ตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มาตรฐานสากล ผู้ผ่านรับรองตามหลักสูตรที่กำหนด จะได้วุฒิบัตรรับรองฝีมือตามประเภทของการทดสอบ เช่น วุฒิบัตรการรับรองตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ วุฒิบัตรการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO9606-1 วุฒิบัตรการรับรองตามมาตรฐานสากล EN 287-1   สถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็น 1ใน 6 แห่ง ในประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุด มีการติดตามด้านมาตรฐานทุกๆ 5 ปี ภายใต้กรอบสมาชิก 59 ประเทศทั่วโลก

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม (Welding Skill Development Academy) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 1 สมุทรปราการ เลขที่ 1039 หมู่ที่ 15 ถนน เทพารักษ์ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง สมุทรปราการ โทรศัพท์ 0 2315 3804 E-mail : welda.dsd@gmail.com


สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน

error: Content is protected !!