ข่าวใหม่อัพเดท » กรมชลฯ ปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทาน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

กรมชลฯ ปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทาน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

23 กันยายน 2020
0

กรมชลฯ ปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้า พระยา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

วันที่ 22 ก.ย.63 : นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายสากล ชลคีรี ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสมุทรสาคร เดินทางมาตรวจโครงการอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางน้ำจืด จ.สมุทรสาคร โดยกรมชลประทาน เร่งเดินหน้างานสำรวจออกแบบโครงการอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางน้ำจืดจังหวัดสมุทรสาคร (2563-2564) ส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

นายเฉลิมเกียรติฯ กล่าวว่า เพื่อแก้ปัญหาการเกิดน้ำหลากแม่น้ำเจ้าพระยา ลำน้ำสาขาสายอื่นๆ รวมทั้งช่องทางระบายน้ำฝั่งตะวันตกและตะวันออกที่ทำงานได้ไม่เต็มศักยภาพเพราะคลองหลายสายขาดความต่อเนื่อง ทำให้ระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยไม่ทันจนเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กรมชลประทานจึงเร่งเดินหน้างานสำรวจออกแบบโครงการอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางน้ำจืดจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

โดยการบริหารจัดการน้ำเมื่อฝนตกในพื้นที่ตั้งแต่คลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน จนถึงชายทะเล จะระบายน้ำออกสู่ทะเลทั้งแนวเหนือ-ใต้ร่วมกับการผันน้ำออกทางแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่เกินศักยภาพของสถานีสูบน้ำเดิมที่มีอยู่บริเวณริมแม่น้ำ และเมื่อฝนทิ้งช่วงในฤดูแล้งก็จะกักเก็บน้ำและนำน้ำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ

ฉะนั้นงานสำรวจออกแบบโครงการอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางน้ำจืด จะช่วยระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างตอนบนคลองภาษีเจริญจนถึงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย และเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำในแก้มลิง โดยผ่านอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางจืด 60 กม./วินาที รวมถึงควบคุมระดับน้ำทะเลพร้อมปรับปรุงระบบไฟฟ้า/เครื่องกลของประตูระบายน้ำเดิมจำนวน 13 แห่ง และก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง

สำหรับโดยแผนการดำเนินงานนั้นเริ่มมาตั้งแต่มีโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการน้ำในพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (2557-2560) เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำ ถัดมากรมชลประทานได้มอบให้กิจการร่วมการค้า PWFS JV เป็นผู้ดำเนินการงานสำรวจออกแบบอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองน้ำจืด มีกำหนดระยะเวลา 540 วัน (2563-2564) นับเป็นส่วนสำคัญของแผนงานที่ 4 โครงการปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันตก จาก 9 แผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง หลังจากนั้นจะนำเสนอโครงการฯต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เสนอเปิดโครงการต่อคณะรัฐมนตรี จัดเตรียมเอกสารประมูลและเตรียมการก่อสร้าง และดำเนินการก่อสร้างจนจบโครงการ

“ระยะเวลาปฏิบัติงานเริ่มตั้งแต่ 21 พฤษภาคม 2563 สิ้นสุดสัญญา 11 พฤศจิกายน 2564 ตามแผนงานประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนจะมีการปรึกษาหารือในเดือนจะมีการพฤษภาคม-กรกฎาคม ในเดือนกันยายนจะมีการประชุมปฐมนิเทศโครงการและจัดกิจกรรมสื่อสัญจรครั้งที่ 1 เดือนตุลาคมจะเป็นการประชุมย่อยครั้งที่ 1และการสัมนาสรุปโครงการขั้นตอนออกแบบรายละเอียด หลังจากนั้นในปี 2564 จะประชุมย่อยครั้งที่ 2 สรุปโครงการและปัจฉิมนิเทศโครงการตามลำดับ”

ทั้งนี้ แผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่

  1. โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง
  2. โครงการคลองระบายน้ำหลากเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงคลองชัยนาท-ป่าสัก และช่วงคลองป่าสัก-อ่าวไทย
  3. โครงการคลองระบายน้ำควบคู่กับถนนวงแหวนรอบที่สาม
  4. โครงการประปรุงโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันตก
  5. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
  6. โครงการบริหารจัดการน้ำพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ
  7. โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร 8. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน และ
  8. โครงการพื้นที่รับน้ำนอง

สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน

error: Content is protected !!