ข่าวใหม่อัพเดท » บุรีรัมย์-พ.อ.บุญส่ง พรมนิล ผบ.ฉก.ทพ.26 ดำเนินการสร้างฝายชะลอน้ำ ตามแผนงานของ “ศูนย์บริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” สนองตอบนโยบายแม่ทัพภาคที่ 2

บุรีรัมย์-พ.อ.บุญส่ง พรมนิล ผบ.ฉก.ทพ.26 ดำเนินการสร้างฝายชะลอน้ำ ตามแผนงานของ “ศูนย์บริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” สนองตอบนโยบายแม่ทัพภาคที่ 2

25 พฤษภาคม 2020
0

บุรีรัมย์ พ.อ.บุญส่ง พรมนิล ผบ.ฉก.ทพ.26 ดำเนินการสร้างฝายชะลอน้ำ ตามแผนงานของ “ ศูนย์บริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ” สนองตอบนโยบายแม่ทัพภาคที่ 2

ที่หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 พันเอก บุญส่ง พรมนิล ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 (ผบ.ฉก.ทพ.26) ได้ตอบสนองนโยบายของ พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ ทัพภาคที่ 2/ประธาน ศูนย์บริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้การดำเนินการผ่านแนวคิด “ น้ำคือชีวิต ” “ น้ำคือความมั่นคง ” ตามคำสั่ง กองทัพภาค ที่ 2 / กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ที่ 29 / 2561 ลงวันที่ 16 ก.พ. 2561 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 แสวงประโยชน์จากการลาดตระเวนทางด้านยุทธวิธี พอมาเจอพื้นที่คลองน้ำ ก็หยุดหน่วยเพื่อทำฝายชะลอน้ำ บริเวณรับผิดชอบพื้นที่ต้นน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำมูล จากแหล่งน้ำบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอครบุรีและอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

โดยหน่วยได้รับการสนับสนุนกระสอบเป็นจำนวนมากจากกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมปักธงชัย ซึ่งได้สนับสนุนมาเป็นระยะๆ ในการจัดทำฝายได้ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติโดยกรอกกระสอบดินใส่ภายในให้เต็ม, จากนั้นก็นำกระสอบทรายมาเรียงทับกันเป็นชั้นๆ, จากนั้นนำไม้มาตอกทำคอกกั้นกระสอบทรายเพื่อกั้นกระสอบทรายไม่ให้พังลงเวลาฝนตกลงมา, และนำไม้มาเรียงขวาง, จากนั้นก็นำท่อนไม้มาวางทับข้างบนกระสอบทราย, ขั้นตอนสุดท้ายได้นำหินหรือเศษไม้มาทับข้างบนให้ฝายมีความมั่นคงและแข็งแรง โดยได้ดำเนินการร่วมกับมวลชนในพื้นที่ ต.โคกกระชาย ต.ลำเพียก อ.ครบุรี ให้มีส่วนร่วมในการจัดสร้าง เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างฝายชะลอน้ำ ปัจจุบันได้ทำการสร้างฝายทั้งหมด จำนวน 31 ฝาย

พันเอก บุญส่ง พรมนิล ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 (ผบ.ฉก.ทพ.26) กล่าวถึงประโยชน์ของฝายชะลอน้ำ เกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฝายชะลอน้ำสามารถชะลอให้น้ำฝนตามธรรมชาติที่ตกลงมาอยู่บนผืนแผ่นดินยาว นานมากขึ้น การทำฝายชะลอการไหลของน้ำจะเป็นส่วนช่วยสร้างความชุ่มชื้นในดินได้มากขึ้นสร้างความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี ทำหน้าที่คืนความชุ่มชื้นเข้าสู่ระบบน้ำธรรมชาติ ช่วยให้ปริมาณน้ำธรรมชาติมากขึ้น

เป็นการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ซ้ำซากและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ซ้ำซาก เพื่อชะลอการไหลของน้ำลงสู่พื้นที่ตอนในให้อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำให้ได้มากที่สุด อันจะส่งผลต่อปริมาณน้ำที่สามารถกักไว้ในพื้นที่ เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งก็ยังคงมีน้ำช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้เกิดขึ้น สภาพป่าต้นไม้ พืชพรรณที่มีอยู่ในบริเวณนั้นจะได้รับการฟื้นฟูพัฒนาสภาพป่าต้นน้ำ ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สามารถเก็บกักซับน้ำเป็นแหล่งเพิ่มพูนความหลากหลายในระบบนิเวศน์ ทำให้สภาพแวดล้อมของชุมชนมีความชุ่มชื้นยิ่งขึ้นเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเสมือนเป็นแอ่งเก็บน้ำขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ต้นน้ำ อันเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในการใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภค เป็นการป้องกันความแห้งแล้งสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายของระบบนิเวศน์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดแหล่งอาหารตามธรรมชาติเพื่อการเก็บหาบริโภคและพึ่งพิงป่าได้

ทำให้ชุมชนมีแหล่งอาหารแหล่งเสริมสร้างอาชีพจากการอนุรักษ์ป่า เช่น การเก็บหาผลิตผลจากป่า เห็ด หน่อไม้ เป็นการเสริมสร้างอาชีพเพิ่มพูนรายได้ ชุมชนเกิดความรักสามัคคี มีความสุขใจ มีส่วนร่วมในการรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน เกิดระบบการบริหารจัดการป่าชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพรของคนในชุมชนและคนนอกชุมชน เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ และขยายผลการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำด้วยฝายชะลอน้ำ เรียนรู้การใช้ประโยชน์แบบพึ่งพิงป่าได้อย่างเกื้อกูล รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน เป็นเส้นทางเดินธรรมชาติแก่ผู้มาศึกษาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการปลูกสร้างจิตสำนึก


ภาพ/ข่าว หนุ่ม ไทยบ้าน เทพพนม รายงาน

error: Content is protected !!