ข่าวอาชญากรรม » พลตรีสมพล ปานกุล รองแม่กอ.รมน.ภาค4ขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหา ภัยความมั่นคง ยาเสพติด

พลตรีสมพล ปานกุล รองแม่กอ.รมน.ภาค4ขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหา ภัยความมั่นคง ยาเสพติด

30 เมษายน 2019
0

พลตรีสมพล ปานกุล รองแม่ทัพภาคที่ 4 กองอำนวยการความมั่นคงภายในภาค4สวนหน้า หรือ กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า พร้อมด้วย พันเอก ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า
นายไกรศร วิศิษฏ์ศ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำทัพสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี ขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหา ภัยความมั่นคง ยาเสพติด การพัฒนาชุมชนและการสร้างความเข้าใจในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 ส่วน ได้แก่ การป้องกัน การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดและการฝึกอาชีพแก่ผู้ผ่านการทำบำบัดยาเสพติด ฟการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องอาทิ ป.ป.ส. และภาคประชาสังคม

โดย​ พันเอก ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า โครงการเวทีสภาสันติสุข เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบูรณาการทำงานร่วมกันทั้ง ภาครัฐ ภาคประชาชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ภายใต้การกำกับดูแลของนายอำเภอ ซึ่งเป้าหมายหลักของเวทีสภาสันติสุขตำบล คือ เป็นเวทีที่รับฟังความคิดเห็นและความต้องการที่เป็นปัญหาของพี่น้องประชาชน เพื่อเสนอไปยังรัฐบาล ในการกำหนดแผนงานโครงการ

​ทั้งนี้ เวทีสภาสันติสุข จะเป็นเวทีที่ใช้ในการเปิดเพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะสภาสันติสุขตำบล ทั้ง 290 ตำบล ซึ่งจะเน้นในเรื่องหลัก 4 เรื่อง คือ 1. ต้องการให้ยุติการใช้ความรุนแรง และให้หันหน้าเข้ามาแก้ปัญหาเชิงสันติวิธี 2. ต้องการให้มีการพัฒนาด้านอาชีพ เนื่องจากมีความเป็นห่วงปากท้องชาวบ้าน 3. ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นทุกข์ของชาวบ้านและเป็นภัยต่อความมั่นคง 4. ต้องการให้มาดูในเรื่องของการอำนวยความยุติธรรมในพื้นที่ ทั้งความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรม และความเป็นธรรมในความรู้สึก

ส่วนการจัดการด้านปัญหายาเสพติดในพื้นที่ เจ้าหน้าที่มีแผนดำเนินการจัดการกับผู้ค้ารายย่อยตามชุมชนและสร้างการรับรู้ถึงปัญหาระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ รวมถึงคุมเข้มกลุ่มผู้มีอิทธิพลด้านยาเสพติดในพื้นที่เนื่องจากที่ผ่านมาพบการเชื่อมโยงโดยตรงและการเอื้อผลประโยชน์ ร่วมกัน

ด้าน นายเศวต เพชรนุ้ย นายอำเภอโคกโพธิ์ ระบุถึง แนวทางการบำบัดรักษาและแก้ไขปัญหายาเสพติด 5 ขั้นตอนที่ทางทุกภาคส่วนในอำเภอได้บูรณาการร่วมกันโดยมีโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานีเป็นเจ้าภาพหลักเพื่อใช้ประกอบแนวทางการดำเนินงานปัตตานีโมเดล ในส่วนของแนวทางการบำบัดรักษา 5 ขั้นตอน คือ 1 .กระบวนการค้นหาผู้ป่วยยาเสพติดในพื้นที่หมู่บ้านชุมชนโดยการสำรวจข้อมูลการทำประชาคมแล้วทำบัญชีรายชื่อผู้ป่วยยาเสพติดเป็นรายหมู่บ้าน
2 .คัดกรองผู้ป่วยยาเสพติดโดยศูนย์คัดกรองระดับอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ออกเป็นระดับผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด และผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต
3.การบำบัดรักษายาเสพติดกับผู้ป่วยระดับผู้ใช้และผู้เสพที่โรงพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลทั่วไป ก่อนส่งค่ายพักพิงเพื่อการบำบัดหรือ Camp 35
4.กระบวนการติดตามดูแลต่อเนื่องในชุมชน อำเภอ จาก Take care team (เทคแคร์ทีม) ในทุกตำบล ซึ่งจะมีหน้าที่ในการค้นหาผู้ป่วยยาเสพติด ติดตามดูแลป่วยที่ผ่านการบำบัดแล้ว ต้องไม่ให้กลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ
และขั้นตอนที่ 5.กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการฝึกอบรมวิชาชีพ พร้อมมอบวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพให้กับผู้ที่ผ่านการรักษา

ด้านภัยความมั่นคงของจังหวัดชายแดนใต้เกิดความรุนแรงในรอบสามเดือนแรกกว่า 100 เหตุการณ์มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย โดยประเด็นที่น่าพิจารณาคือจำนวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมและยาเสพติดรวมถึงเหตุการณ์ที่ไม่สามารถระบุได้

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จาก กอ.รมน.ภาค4 สน.ได้นำทัพสื่อมวลชนเข้าร่วมพูดคุยกับนาย ธอยาลี นิมะนิง ผู้ใหญ่บ้านหมู่หนึ่งตำบลบาราโหมอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานีเพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดในพื้นที่โดยผู้นำชุมชน

โดยชุมชนบาราโหมเป็นหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสของเมืองปัตตานีเดิมและเกี่ยวโยงไปยังเมืองลังกาสุกะ เดิมทีประชาชนนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานเป็นเมืองพุทธมลายู อยู่แห่งราชอาณาจักรลังกาสุกะ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนครรัฐพุทธเป็นรัฐอิสลามโดยพญาอินทิราที่เป็นผู้ก่อตั้งรัฐปัตตานีดารุสลาม หรือ นครรัฐแห่งสันติ
โดยได้พูดคุยถึงการนำสันติสุขคืนสู่ตำบลรวมถึงความต้องการจากคนในพื้นที่ชุมชนบาราโหมที่ต้องการให้ชุมชนเป็นเขตปลอดความรุนแรงและชาวบ้านในพื้นที่ปลอดภัย จากความรุนแรง รวมไปถึงด้านเศรษฐกิจเนื่องจากที่ผ่านมาภายหลังเกิดเหตุความรุนแรงการค้าขายและด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ค่อนข้างซบเซาจึงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาปรับปรุงและเสริมสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน โดยชุมชนบาราโหมได้ออกแบบผลิตภัณฑ์จากการรวมตัวกันของชาวบ้านจัดทำผลิตภัณฑ์ของชุมชน ด้าน ของใช้เพื่ออุปโภคบริโภค และอาหารคาวหวาน เสื้อผ้า ผ้าบาติก ข้าวพอง ซึ่งผลิตภัณฑ์ด้านอาหารของชาวชุมชนบาราโหมได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.แล้ว
รวมไปถึงด้านพหุวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของ 2 ศาสนาในชุมชนทั้งชาวพุทธและอิสลามในพื้นที่ซึ่งที่ผ่านมาผู้นำชุมชนเองก็ได้ร่วมกับทางวัดเพื่อร่วมกิจกรรมกันซึ่งกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาเป็นการทำงานร่วมกันโดยที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนา อาทิ การรับส่งพระตามวัดต่างๆ ที่ได้รับความร่วมมือจากชาวชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลาม
ต่อมาได้เข้าเยี่ยมชมสุสานสุลต่านชาห์ ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพ ของเจ้าเมืองปัตตานีคือพญาอินทิรา ซึ่งเป็น กษัตริย์องค์แรกที่หันมานับถือ ศาสนาอิสลามและสถาปนาเมืองปัตตานีเป็นนครปัตตานีดารุสาลาม หรือ นครรัฐแห่งสันติ มีเรื่องเล่าขานกันว่าเหตุที่พญาอินทิรา เข้านับถือศาสนาอิสลามนั้น เนื่องจากทรงหายจากอาการประชวรจากแพทย์ที่นับถือศาสนาอิสลาม เมื่อครั้งมีโอกาศเข้ามารักษา อาการประชวรของพระองค์ถึงสามครั้ง โดยหมอคนนั้นกล่าวขอให้พญาอินทิรา รับปาก ว่าหากตนเองรักษาให้พญาอินทิราหายป่วยได้แล้วขอให้พญาอินทิรา ปฏิญาณ ตนเข้านับถือศาสนาอิสลาม

จากนั้นได้เข้าไปเยี่ยมชมวัดบ้านดี วัดแห่งแรกของจังหวัดปัตตานี ซึ่งก่อสร้างในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา จากการมอบที่ดินที่เคยเป็นที่เลี้ยงช้างของกษัตริย์มูซัฟฟาร บุตรชายของพญาอินทิรา เมื่อครั้งนำทัพเข้าร่วมรบกับพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา จึงได้เชลยชาวเขมรและพม่ากลับมา 160 คน ซึ่งคนเหล่านี้นับถือศาสนาพุทธ พระองค์จึงได้มอบที่ดินที่เป็นที่เลี้ยงช้างและพื้นที่โดยรอบวัดบ้านดี ให้เป็นชุมชนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและสั่งให้จัดสร้างเจดีย์และสร้างวัดบ้านดีแห่งนี้

ไม่เพียงแต่สร้างวัดบ้านดีเท่านั้นพื้นที่โดยรอบห่างออกไปได้มีการจัดสร้างมัสยิดกรือเซะ มัสยิดที่ถูกก่อสร้างห่างกันเวลาไม่นานจากการก่อสร้างวัดบ้านดีเนื่องจากในขณะนั้นและกษัตริย์มองว่าเมื่อมีวัดของชาวพุทธแล้วควรที่จะมีมัสยิดให้แก่ชาวมุสลิมด้วย
มัสยิดกรือเซะ หรือ มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ ชาห์ ” ที่สร้างเวลาใกล้เคียงกันหลังเจ้าเมืองยุคนั้นเปลี่ยนมาปฏิญาณตนเข้าศาสนาอิสลาม
มัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปีใน จ.ปัตตานี มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ มัสยิดปิตูกรือบัน (คำว่า ปิตู=ประตู ,กรือบัน = ช่องประตูที่มีรูปโค้ง) ชื่อเรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอทิกของชาวยุโรป กับแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง
เป็นพื้นที่สำคัญทางศาสนาแล้วยังเคยเป็นพื้นที่ก่อเหตุความรุนแรงมากที่สุดช่วงประกาศกฎอัยการศึก ปี 2547 ด้วย
กลุ่มหัวรุนแรงตั้งหลักที่มัสยิดกรือเซะ ในวันที่28 เมษายน 2547 เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตที่มัสยิดกรือเซะ 34 ศพ
โดยก่อนหน้านี้จากการพูดคุยกับ ผู้นำชุมชนบาราโหม ได้กล่าวขอร้องว่าอย่าออกอากาศในเรื่องของการสูญเสียในขณะนั้น อย่ารื้อฟื้นวันคอบรอบที่จะมาถึงในวันที่ 28 นี้ เพราะทำให้ยิ่งตอกย้ำความรู้สึกสูญเสีย ที่ชาวบ้านลืมกันไปหมดแล้ว
มัสยิดกรือเซะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาณเมื่อปี 2478 และมีการบูรณะอยู่หลายครั้งแต่ปัจจุบันยังคงคงไว้ในสภาพเดิมและอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร

error: Content is protected !!