ข่าวใหม่อัพเดท » สรุปสารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร เพื่อการแก้ไขปัญหา จชต. เดือน มี.ค. ๖๓

สรุปสารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร เพื่อการแก้ไขปัญหา จชต. เดือน มี.ค. ๖๓

9 เมษายน 2020
0

๑.  บทสรุปผู้บริหาร

    ใน มี.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ๕๐๐ ข่าว จากที่มี  ๓๕๖ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ  ๒๒๗ ข่าว ใน มี.ค. ๖๓ จากที่มี  ๑๐๑ ข่าวใน ก.พ. ๖๓

  • ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่  เหตุร้ายรายวัน, การพูดคุยเพื่อสันติสุข, กระบวน การยุติธรรม, การเมือง และ สิทธิมนุษยชน
  • ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก ได้แก่ กีฬา, การศึกษา, ยาเสพติด, เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต., การสร้างความเข้าใจ และสมานฉันท์, การเยียวยา, การเยียวยา, การบำรุงขวัญกำลังพล,​ การช่วยเหลือประชาชน, การบังคับใช้กฎหมาย, การรักษาความปลอดภัย และทรัพย์สิน, อาชญากรรมในพื้นที่, เศรษฐกิจ และ การสร้างรายได้, การยกระดับคุณภาพชีวิต และ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต

จากสถานการณ์ข่าวดังข้างต้น ส่งผลให้การรับรู้เชิงบวกที่มีต่อสถานการณ์ จชต. ใน มี.ค. ๖๓ ลดลง จาก ๒.๐๔  ใน ก.พ. ๖๓ เป็น ๑.๔๐ ใน มี.ค. ๖๓

  • ประเด็นสำคัญที่สื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  รายงาน ในช่วง มี.ค. ๖๓ สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้

      ๑) การพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นทางการครั้งที่ ๒ ระหว่างคณะพูดคุยตัวแทนรัฐบาลไทยนำโดย พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ กับ ตัวแทนบีอาร์เอ็น หรือ ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี นำโดย นาย อานัส อับดุลเลาะห์มาน จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ระหว่างวันที่ ๒ และ ๓ มีนาคม เป็นประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สื่อมวลชนต่างประเทศให้ความสนใจ และ รายงานข่าวมากที่สุด ประกอบด้วย Reuters, New York Times, Benarnews และ สื่อมาเลเซียหลายแห่ง ทั้งนี้สื่อส่วนใหญ่รายงานข่าวการประชุมในเชิงบวก โดยส่วนใหญ่อ้างอิงข้อความจากเอกสารข่าวของสำนักงานคณะพูดคุยสันติสุขฯ

     ๒) กรณีคนร้ายลอบโจมตีรถยนต์ตำรวจสายตรวจ สภ.ศรีสาคร จ.ว.น.ธ. กลางดึกคืนวันที่ ๖ มีนาคม เป็นเหตุให้ตำรวจเสียชีวิตหนึ่งคน ได้รับบาดเจ็บ ๒ คน

     ๓) สื่อมาเลเซียเผยแพร่บนความบทบาทของสตรีในการกระบวนการสันติภาพ เผยแพร่ในโอกาสวันสตรีสากล ๘ มีนาคม เรียกร้องให้กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มบทบาทของสตรีในกระบวนการสร้างสันติภาพ

     ๔) Benarnews.org รายงานข่าว ความร่วมมือระหว่างกรมสนับสนุน และ คุ้มครองเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กับ กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้กับทหารที่เกี่ยวข้อง ได้มีความรู้ความเข้าใจลดปัญหาการร้องเรียนเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในพื้นที่ จชต.

    ๕) สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นหลัก รวมทั้งประเด็นที่สื่อต่างประเทศรายงานเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นประเด็นเกี่ยวกับ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งสินค้าผ่านแดน

    ๖) New Straits Times รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของคนขับรถบรรทุกสินค้าคนหนึ่งบอกว่า เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรที่ปาดังเบซาร์ ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าจากไทยข้ามไปมาเลเซีย ภายหลังรัฐบาลมาเลเซียมีคำสั่งปิดประเทศห้ามชาวมาเลเซียเดินทางเข้าออกประเทศ และ ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม

    ๗) เหตุการณ์คนร้ายขว้างระเบิดมือใส่สำนักงานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ อ.เมือง จ.ว.ย.ล. เพื่อลวงให้เจ้าหน้าที่ออกมาตอบโต้ คนร้ายจึงจุดชนวนระเบิดรถยนต์ที่จอดไว้หน้า ศอ.บต. เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๘ คน

  • การปฏิบัติการข่าวสารสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. ใน มี.ค. ๖๓ สรุปได้ดังนี้   

    ๑) เตรียมการปฏิบัติข่าวสารเพื่อรองรับแนวโน้มโอกาสเกิดข่าวด้านลบหรือข่าวสารที่กระทบต่อหน่วยงานรัฐในพื้นที่ จชต. ในห้วงสัปดาห์นี้ คือ การเสียชีวิตของนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา

    ๒) ประชาสัมพันธ์ข่าวสารเชิงบวกสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่มีเป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

    ๓) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยป้องกันไวรัสโคโรนาแก่ประชาชน และการปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านสาธารณสุข

๒.ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน มี.ค. ๖๓

    ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

ใน มี.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับ จชต. (เส้นทึบสีเขียว) ๕๐๐ ข่าว จากที่มี  ๓๕๖ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีน้ำเงิน) มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ (เส้นทึบสีแดง) มีข่าวเชิงลบ  ๒๒๗ ข่าว ใน มี.ค. ๖๓ จากที่มี  ๑๐๑ ข่าวใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีแดง) มีแนวโน้มฯ เพิ่มขึ้น

         ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ

          เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวัน มาคำนวณหาค่าสัดส่วน พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วน ดังแสดงในตารางด้านล่าง

วดป. จำนวนข่าวเชิงบวก (1) จำนวนข่าวเชิงลบ (2) ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)
2020-03-01 10 0 10.00
2020-03-02 19 9 2.11
2020-03-03 22 5 4.40
2020-03-04 6 4 1.50
2020-03-05 13 9 1.44
2020-03-06 7 7 1.00
2020-03-07 28 19 1.47
2020-03-08 19 23 0.83
2020-03-09 16 10 1.60
2020-03-10 7 5 1.40
2020-03-11 18 15 1.20
2020-03-12 10 9 1.11
2020-03-13 6 8 0.75
2020-03-14 14 10 1.40
2020-03-15 11 3 3.67
2020-03-16 16 1 16.00
2020-03-17 27 21 1.29
2020-03-18 34 17 2.00
2020-03-19 31 3 10.33
2020-03-20 20 4 5.00
2020-03-21 15 5 3.00
2020-03-22 13 3 4.33
2020-03-23 19 4 4.75
2020-03-24 11 2 5.50
2020-03-25 22 5 4.40
2020-03-26 14 1 14.00
2020-03-27 6 4 1.50
2020-03-28 13 2 6.50
2020-03-29 8 5 1.60
2020-03-30 23 9 2.56
2020-03-31 22 5 4.40
16.13 7.32 3.90

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วง มี.ค. ๖๓

    ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

ใน มี.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข  ๑ ข่าว จากที่มี ๑๑ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ  ๖ ข่าว ใน มี.ค. ๖๓ จากที่มี ๖ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

   ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

๓.๓ ประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต.

         ใน มี.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต.  ๘ ข่าว จากที่มี  ๖ ข่าวใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๓๐ ข่าว ใน มี.ค. ๖๓ จากที่มี  ๒๔ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่

       ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

ใน มี.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ๖๖ ข่าว จากที่มี  ๔๘ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๘ ข่าว ใน มี.ค. ๖๓ จากที่มี ๑๔ ข่าว ใน ก.พ ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้ม ต่ำค่อนข้างคงที่

๓.๕ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล

ใน มี.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล  ๑๐ ข่าว จากที่มี  ๘ ข่าว ใน ก.พ. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ไม่มีข่าวเชิงลบ ใน มี.ค. ๖๓ จากที่มี  ๖ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓   ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

        ๓.๖ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นสิทธิมนุษยชน

ใน มี.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นสิทธิมนุษยชน ๓ ข่าวจากที่มี  ๓ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓   ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ  ๖ ข่าว ใน มี.ค. ๖๓ จากที่มี ๔ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓   ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

       ๓.๗ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้

๓.๘ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นยาเสพติด

ในช่วง มี.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นยาเสพติด ๘ ข่าว จากที่มี  ๑๒ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ไม่มีข่าวเชิงลบทั้งใน มี.ค. ๖๓ และ ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

     ๓.๙ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)

ในช่วง มี.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย ๒ ข่าว จากที่มี ๔ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ไม่มีข่าวเชิงลบ ทั้งใน ก.พ ๖๓ และ ม.ค. ๖๓  มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก

  ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ในเดือน มี.ค. ๖๓

๔.๒ ระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)

จากสถานการณ์ข่าวดังข้างต้น ส่งผลให้การรับรู้เชิงบวกที่มีต่อสถานการณ์ จชต. ใน มี.ค. ๖๓ ลดลง จาก ๒.๐๔  ใน ก.พ. ๖๓ เป็น ๑.๔๐ ใน มี.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มการรับรู้ มีแนวโน้ม ลดลง

๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วง มี.ค. ๖๓

   ๑) การพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นทางการครั้งที่ ๒ ระหว่างคณะพูดคุยตัวแทนรัฐบาลไทยนำโดย พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ กับ ตัวแทนบีอาร์เอ็น หรือ ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี นำโดย นาย อานัส อับดุลเลาะห์มาน จัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ระหว่างวันที่ ๒ และ ๓ มีนาคม เป็นประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สื่อมวลชนต่างประเทศให้ความสนใจ และ รายงานข่าวมากที่สุด ประกอบด้วย Reuters, New York Times, Benarnews และ สื่อมาเลเซียหลายแห่ง ทั้งนี้สื่อส่วนใหญ่รายงานข่าวการประชุมในเชิงบวก โดยส่วนใหญ่อ้างอิงข้อความจากเอกสารข่าวของสำนักงานคณะพูดคุยสันติสุขฯ

   ๒) กรณีคนร้ายลอบโจมตีรถยนต์ตำรวจสายตรวจ สภ.ศรีสาคร จ.ว.น.ธ. กลางดึกคืนวันที่ ๖ มีนาคม เป็นเหตุให้ตำรวจเสียชีวิตหนึ่งคน ได้รับบาดเจ็บ ๒ คน

   ๓) สื่อมาเลเซียเผยแพร่บนความบทบาทของสตรีในการกระบวนการสันติภาพ เผยแพร่ในโอกาสวันสตรีสากล ๘ มีนาคม เรียกร้องให้กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มบทบาทของสตรีในกระบวนการสร้างสันติภาพ

   ๔) Benarnews.org รายงานข่าว ความร่วมมือระหว่างกรมสนับสนุน และ คุ้มครองเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กับ กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้กับทหารที่เกี่ยวข้อง ได้มีความรู้ความเข้าใจลดปัญหาการร้องเรียนเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในพื้นที่ จชต.

   ๕) สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นหลัก รวมทั้งประเด็นที่สื่อต่างประเทศรายงานเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นประเด็นเกี่ยวกับ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งสินค้าผ่านแดน

   ๖) New Straits Times รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของคนขับรถบรรทุกสินค้าคนหนึ่งบอกว่า เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรที่ปาดังเบซาร์ ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าจากไทยข้ามไปมาเลเซีย ภายหลังรัฐบาลมาเลเซียมีคำสั่งปิดประเทศห้ามชาวมาเลเซียเดินทางเข้าออกประเทศ และ ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม

    ๗) เหตุการณ์คนร้ายขว้างระเบิดมือใส่สำนักงานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ อ.เมือง จ.ว.ย.ล. เพื่อลวงให้เจ้าหน้าที่ออกมาตอบโต้ คนร้ายจึงจุดชนวนระเบิดรถยนต์ที่จอดไว้หน้า ศอ.บต. เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๘ คน

๖. สรุปประเด็นการสนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสารสำคัญในเดือน มี.ค. ๖๓

   ๑) เตรียมการปฏิบัติข่าวสารเพื่อรองรับแนวโน้มโอกาสเกิดข่าวด้านลบหรือข่าวสารที่กระทบต่อหน่วยงานรัฐในพื้นที่ จชต. ในห้วงสัปดาห์นี้ คือ การเสียชีวิตของนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา

   ๒) ประชาสัมพันธ์ข่าวสารเชิงบวกสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่มีเป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

   ๓) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยป้องกันไวรัสโคโรนาแก่ประชาชน และการปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านสาธารณสุข


error: Content is protected !!