ข่าวใหม่อัพเดท » ปท.ศปม.กอ.รมน.ภาค 2 ติดตามคณะศปป.4 กอ.รมน. ร่วมประชุมและตรวจพื้นที่ กอ.รมน.จ.อุบลฯ

ปท.ศปม.กอ.รมน.ภาค 2 ติดตามคณะศปป.4 กอ.รมน. ร่วมประชุมและตรวจพื้นที่ กอ.รมน.จ.อุบลฯ

25 เมษายน 2024
0

ปท.ศปม.กอ.รมน.ภาค 2 ติดตามคณะ ศปป.4 กอ.รมน.ร่วมประชุมและตรวจพื้นที่ กอ.รมน.จังหวัดอุบลราชธานี ณ ห้อง กอ.รมน.จังหวัด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 67 เวลา 09.00 น. พล.ต. ถนอม สบายพร รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กอ.รมน พร้อมด้วยคณะชุดตรวจประเมินผลฯ ได้เข้าเยี่ยมคำนับและหารือกับ นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผวจ.อ.บ./ผอ.รมน.จว.อ.บ. มีประเด็นสำคัญ อาทิ แผนบริหารจัดการน้ำระบายลงแม่น้ำโขง แม่น้ำชี แม่น้ำมูล พร้อมกักเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำ หรือแก้มลิงให้เพียงพอเพื่อการเกษตร ต่อมาได้ร่วมประชุมกับส่วนราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยมี พ.อ. วิชิต มักการุณ รอง ผอ.รมน.จังหวัด อ.บ.(ท.)ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัด มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

“ผาแต้ม”

  • ด้าน สสท.ฯ : สำนักอนุรักษ์ที่ 9 ขอรับการสนับสนุนยุทโธปกรณ์เพื่อป้องปรามผู้กระทำผิด และกำลังทหารบูรณาการร่วมในการลาดตะเวนร่วมกับกรมป่าไม้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้ ปัญหายาเสพติด และปัญหาลักลอบนำรถยนต์ จักรยานยนต์ และอุปกรณ์ทางการเกษตรข้ามแม่น้ำโขง ทั้งนี้ยังมีปัญหาช้างป่า บุกรุกทำลายผลผลิตทางการเกษตร และบ้านเรือน
  • ด้าน สพอ.ฯ : ปัญหาการลักลอบนำเข้าสุกรเถื่อน โดยมีการตรวจพบการลักลอบนำเข้า ส่งต่อให้ร้านอาหารภายในพื้นที่จังหวัด (ร้านหมูกระทะ)
  • ด้าน สปภ.ฯ : ปภ.คาดว่าจะอุทกภัยจะไม่เหมือนปี 65 เพราะมีการจัดตั้ง ศบภ. บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติ และขั้นการฟื้นฟู หากเกิดอุทกภัยจากการเปลี้ยนแปลงสภาพอากาศเอลนีโญเป็นลานีญา ศบภ. จะเร่งผลักดันน้ำลงแม่น้ำโขง แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ตามแผนที่กำหนด และระดมหน่วยทหารในพื้นที่เข้ามาช่วยในทุกขั้นตอน

ในโอกาสนี้ คณะ ศปป.4ฯ ลงพื้นที่ที่มีปัญหาท่วมซ้ำซาก จำนวน 2 พื้นที่ คือ M4 (เขตเมือง) และวารินชำราบ ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามเมือง ได้รับผลกระทบมากเนื่องจากต่ำกว่าฝั่ง M4 แต่ในปีที่ผ่านมาได้รับงบประมาณปรับปรุง เขื่อนให้มีระดับความสูง 8.5 ม. โดยเป็นระดับน้ำที่เอ่อมาเป็นประจำหากปี 67 ในฤดูน้ำหลาก น้ำเอ่อไม่ถึงระดับ ความสูง 8.5 ม. พื้นที่ดังกล่าวจะไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทั้งนี้หากสามารถทำอุโมงค์น้ำที่แก่งสะพือได้ จะทำให้น้ำระบายได้อย่างรวดเร็ว เป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากได้อย่างถาวร


กอ.รมน.ภาค 2 ภาพ/ข่าว

error: Content is protected !!